Collapsible Panel

Click on the collapsible panel to open and close it.

กีฬา ยิมนาสติก นั้นได้มีการเริ่มเล่นเมื่อใด ไม่ได้มีหลักฐานระบุชัดเจน

กีฬา ยิมนาสติก ประวัติกีฬายิมนาสติก

กีฬา ยิมนาสติก นั้นได้มีการเริ่มเล่นเมื่อใด ไม่ได้มีหลักฐานระบุชัดเจน แต่มีข้อสันนิษฐานว่าชาวกรีกโบราณนั้นเป็นประเทศแรกที่สนใจ และได้มีบทบาทสำคัญต่อกีฬายิมนาสติก ประวัติกีฬายิมนาสติก ซึ่งจะเห็นได้จากคำว่า ยิมนาสติก ก็เป็นภาษากรีกโบราณ หมายถึงศิลปะแห่งการเปลือยเปล่า ทั้งนี้เพราะว่าในสมัยกรีกนั้นการออกกำลังกายทุกประเภท เช่น การวิ่ง การเล่นผาดโผน ไต่เชือก กายบริหาร ศิลปะการต่อสู้ เป็นต้นจะไม่สวมเครื่องแต่งกายมีการประกวดทรวดทรง แข่งขันกีฬากลางแจ้ง ผู้ที่ชนะก็ถูกสร้างรูปปั้นแสดงไว้บริเวณสนามกีฬา ที่เรียกว่ายิมเนเซียม ( Gymnasium )

และเรียกกิจกรรมทุกประเภทที่ออกกำลังกายว่า ยิมนาสติก เพราะฉะนั้น ยิมนาสติกในสมัยกรีก จึงเปรียบเสมือนกับการพลศึกษาในปัจจุบัน กิจกรรมยิมนาสติกในประเทศกรีกนี้ ได้เริ่มต้นและพัฒนาไปพร้อมกับวิทยาการด้านศิลปะดนตรี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเยาวชนให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์ ต่อมาเมื่อกีฬาแต่ละประเภทมีวิวัฒนาการมีกฎ ระเบียบ กติกา ดูบอลออนไลน์ ของตนเองขึ้น จึงแยกตัวออกไป บทความกีฬาที่น่าสนใจ คงเหลือกิจกรรมยิมนาสติกที่เห็นกันในปัจจุบัน

กีฬา ยิมนาสติก

กีฬา ยิมนาสติก เมื่อชาวโรมันได้รุกรานประเทศกรีก

จึงได้นำยิมนาสติกมาฝึกให้กับทหาร เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กองทัพ แต่เมื่ออาณาจักรโรมันได้เสื่อมอำนาจลง กิจกรรมยิมนาสติกก็ได้รับความสนใจและความนิยมน้อยลงตามไปด้วย จนกระทั่งถึงยุคกลาง ( Middle Age ) ระหว่างศตวรรษที่ 14-16 ( พ.ศ. 1943-พ.ศ. 2143 ) กิจกรรมยิมนาสติกของกรีกก็ได้รับการฟื้นฟู ประชาชนมีความสนใจมากขึ้นเป็นลำดับ จึงทำให้กิจกรรมยิมนาสติกแพร่หลายไปในทวีปยุโรป

โดยในปี พ.ศ. 2266-2333 รายงาน ประวัติ กีฬายิมนาสติก นายโจฮัน เบสโดว์ (Johann Basedow) แห่งเยอรมัน นักการศึกษาที่สำคัญได้บรรจุการออกกำลังกายแบบยิมนาสติกเข้าไว้ในหลักสูตรของโรงเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2319

จากนั้นในปี พ.ศ. 2302-2382 นักการศึกษาอีกผู้หนึ่งคือ นายโจฮัน กัตส์ มัธส์ (Johann Guts Muths) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “คุณปู่แห่งกีฬายิมนาสติก” ได้บรรจุวิชายิมนาสติกเข้าไว้ในหลักสูตรของโรงเรียนปรัชเซีย และท่านผู้นี้ยังได้เขียนตำราที่มีคุณค่าต่อการศึกษาไว้หลายเล่ม รวมทั้งตำรายิมนาสติกสำหรับเยาวชนด้วย นับว่าเป็นตำรายิมนาสติกเล่มแรกของโลก

ในปี พ.ศ. 2321-2395 นายเฟรดริค จาน (Frederick Jahn) ชาวเยอรมันได้คิดประดิษฐ์อุปกรณ์เกี่ยวกับยิมนาสติกไว้มากมาย เช่น ราวเดี่ยว ราวคู่ ม้าหู หีบกระโดด กติกากีฬายิมนาสติก ม้ายาวชนิดสั้น (Buck) และในปี พ.ศ. 2345ได้สร้างสถานที่ฝึกยิมนาสติกโดยเฉพาะเรียกว่า เทอนเวอเรียน (Tarnverein) โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ทาให้กีฬายิมนาสติกแพร่หลายอย่างรวดเร็ว เขาจึงได้สมญาว่า บิดาแห่งกีฬายิมนาสติก

ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2353-2401 นักศึกษาที่มีความสำคัญต่อวงการพลศึกษาอีกท่านหนึ่งคือ นายอดอฟ สปีช (Adole Spiess) ชาวสวิส เป็นผู้เสนอให้บรรจุวิชายิมนาสติกเข้าไว้ในหลักสูตรของโรงเรียนในประเทศสวิตเซอร์แลนด์

และในปี พ.ศ. 2383-พ.ศ.2467 นายดัดเลย์ เอ ซาเกนท์ (Dudley A Sargent) ชาวอเมริกา เป็นครูสอนยิมนาสติกที่วิทยาลัยโบวดอย (Bowdoin lleqen) ซึ่งเขาได้บรรจุยิมนาสติกไว้ในหลักสูตรระดับวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ

ประวัติความเป็นมาของกีฬายิมนาสติก ในประเทศไทย   

สำหรับจุดเริ่มต้นการเล่นยิมนาสติกในประเทศไทยนั้นไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่า ประวัติกีฬายิมนาสติกในประเทศไทย ได้มีการเริ่มเล่นในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะในสมัยนั้นได้ส่งคนไปศึกษาต่างประเทศ เมื่อกลับมาจึงได้นำเอาวิชายิมนาสติกมาเผยแพร่ โดยเริ่มสอนที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ต่อมากระทรวงศึกษาธิการเห็นว่าวิชายิมนาสติกมีประโยชน์ในการพัฒนาร่างกายและจิตใจ จึงให้อาจารย์ร้อยเอกขุนเจนกระบวนหัด ซึ่งศึกษาวิชานี้มาจากต่างประเทศเปิดสอนยิมนาสติกที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จัดเป็นวิชาหนึ่งในการสอน และจัดเข้าไว้ในหลักสูตรโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา และโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย

พ.ศ.2511 ยิมนาสติกในประเทศไทยได้รับการพัฒนาขึ้น เมื่อมี การก่อตั้งสมาคมยิมนาสติกแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2511 คณะกรรมการโอลิมปิกไทยและสหพันธ์ยิมนาสติกสากลรับรอง เมื่อปี พ.ศ. 2515 ประเทศไทยจึงได้รับความร่วมมือจากต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น เดนมาร์ก ส่งนักยิมนาสติกมาสาธิตการเล่นกีฬาชนิดหนึ่ง

กีฬา ยิมนาสติก

พ.ศ.2515 มีการสอนในวิทยาลัยพลศึกษา มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒอย่างจริงจังและเริ่มมีการแสดงโชว์ตามสถานที่ต่าง ๆ และประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์ยิมนาสติกสากล (F.I.G) อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ในปีเดียวกัน  พ.ศ.2520 ได้มีการอบรมเกี่ยวกับกติกาและการจัดการแข่งขันแก่ครูอาจารย์และผู้สนใจเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในกีฬายิมนาสติกมากยิ่งขึ้น และในปีนี้ได้จัดให้กีฬายิมนาสติกเป็นกีฬาหนึ่งในการแข่งขันกีฬาวิทยาลัยศึกษา

พ.ศ. 2521 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาเอเซียนเกมส์ ครั้งที่ 8 ยิมนาสติกเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ซึ่งจัดให้มีการแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งก็ได้รับความสนใจเข้าชมรมจากประชาชนและเยาวชนมากพอสมควร และในปีนี้เองกระทรวงศึกษาธิการได้จัดให้วิชายืดหยุ่นซึ่งเป็นพื้นฐานของกีฬายิมนาสติก เป็นวิชาบังคับในหลักสูตรของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

พ.ศ. 2525 และ พ.ศ. 2529 ประเทศไทยได้ส่งนักกีฬายิมนาสติกเข้าร่วมแข่งขันในกีฬาเอเชียนเกมส์ ยิมนาสติกหญิง ถึงแม้จะไม่ได้เหรียญรางวัล แต่ก็เป็นการสร้างประสบการณ์ให้แก่นักกีฬามากขึ้นแต่ถ้าเป็นการแข่งขันในกีฬาซีเกมส์ ซึ่งเป็นการแข่งขันในภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทยประสบความสำเร็จในกีฬายิมนาสติกมาก โดยเฉพาะในประเภทชาย

พ.ศ. 2537 การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 12 ณ เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น นักกีฬายิมนาสติกของจีนครองความยิ่งใหญ่ทั้งประเภทชาย และประเภทหญิงสำหรับนักกีฬาของไทยที่เข้าร่วมแข่งขันก็ประสบความสำเร็จใจการแข่งขันอุปกรณ์ห่วงพอสมควร คือ นายอมรเทพ แววแสง

พ.ศ. 2538 ประโยชน์ของกีฬายิมนาสติก การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 18 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย นักกีฬายิมนาสติกของไทย ครองความยิ่งใหญ่ทั้งประเภทชาย และประเภทหญิงโดยได้เหรียญทองทั้งประเภททีม และประเภทเดี่ยวรวมทุกอุปกรณ์ และในแต่ละอุปกรณ์ก็ได้เหรียญทองเกือบทุกประเภท